top of page

หนึ่งอีเวนต์อีสปอร์ต มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องให้ความสนใจบ้าง?

  • รูปภาพนักเขียน: KAZUMA
    KAZUMA
  • 1 ต.ค. 2567
  • ยาว 4 นาที


“การวางแผนค่าใช้จ่าย” เป็นสิ่งที่ทุกการแข่งขันอีสปอร์ตระดับมืออาชีพจะต้องมี! โดยการวางแผนนั้นไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องเป็นราวให้มีความยุ่งยาก แต่ต้องมีเอกสารที่สามารถแก้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งผู้วางแผนจะต้องบันทึกค่าใช้จ่าย รวมถึง รายรับรายจ่าย ทุกอย่างที่คิดว่างานควรจะต้องมี เพื่อความสำเร็จของงาน


ส่วนรูปแบบการทำเอกสารในการวางแผนค่าใช้จ่าย ควรจัดทำขึ้นเป็น “สเปรดชีท” (Spreadsheet)  เช่น ผ่านโปรแกรม Excel บน Windows, ผ่านโปรแกรม Numbers บน macOS หรือผ่าน Google Sheets บนหน้าเบราเซอร์ เพื่อให้ผู้จัดทำบัญชีสามารถติดตามหรือแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม


สิ่งที่ต้องรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายของการจัดงาน จะมีดังนี้


1.) เงินรางวัล (Prize Pool ทั้งหมด และต้องแบ่งตามอันดับทีมที่ได้รางวัล) และที่สำคัญมาก ๆ คือต้อง คำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย ก่อนที่จะนำเงินรางวัลไปจ่ายให้กับผู้ที่ได้รางวัล ! ตัวอย่างเช่น ผู้ชนะได้เงินรางวัล 1 ล้านบาท ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไป 3% ของเงินรางวัลนี้ ดังนั้น 3% ของ 1 ล้าน (ตามกฎหมายไทย) = 30,000 ทำให้ผู้จัดจะต้องจ่ายเงินให้ผู้ชนะไป 970,000 บาท ส่วนอีก 30,000 ที่ถูกหักไป ทางฝ่ายบัญชีของผู้จัดงานจะต้องนำส่งภาษีให้กับสรรพากร


2.) ค่าสถานที่จัดงาน และวันที่จัดงาน (ต้องมีวันจัดงานที่แน่นอน และช่วงเวลาอื่น หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด)


3.) ค่าอุปกรณ์ประจำงาน (เช่น บัตรคล้องคอ, โฆษณา, สื่อสิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ ถ้ามี)


4.) ค่าสั่งทำตั๋ว/สายรัดข้อมือ (สำหรับผู้ชม)


5.) ค่าอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในสถานที่ (ปลั๊กพ่วง อุปกรณ์คอนโทรล แสงสีเสียง เป็นต้น)


6.) ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน (คอมพิวเตอร์ เกมคอนโซล โต๊ะ เก้าอี้ เกมมิ่งเกียร์ หรืออื่น ๆ โดยทั้งหมดนี้สามารถจัดซื้อเอง หรือเช่า แล้วแต่ความเหมาะสม)


7.) ค่าสินค้าที่ใช้ในการจับรางวัล (ถ้ามี หรืออาจใช้งบและสินค้าสนับสนุนจากสปอนเซอร์ได้ แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ได้ผ่านการชำระภาษี ณ ที่จ่ายมาก่อน จะต้องมีการแจ้งให้ผู้เข้าแข่งขันรับทราบใน “กฎการแข่งขัน” ก่อนด้วย)


8.) ค่าจ้างช่างภาพ ช่างวิดีโอ ผู้ควบคุมโดรนถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์บันทึกภาพอื่น ๆ


9.) ค่าสั่งทำ หรือเช่าโต๊ะ ผ้าปูโต๊ะ เก้าอี้


10.) ค่าขนส่ง (หากมีค่าขนย้ายอุปกรณ์ ค่าเดินทางนักกีฬา หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับการเดินทาง ต้องระบุให้ครบ)


11.) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม สำหรับทีมงาน หรือแขกรับเชิญพิเศษ





12.) ค่าจ้าง/ค่าแรงทีมงาน (รวมถึงพิธีกร แขกรับเชิญพิเศษด้วย ถ้ามี)


13.) ค่าเช่า/จัดซื้อ โปรเจคเตอร์, ทีวี หรืออุปกรณ์การฉายภาพทั้งหมด


14.) ค่าโฆษณาผ่านทีวี โซเชียลมีเดีย สื่อมวลชน หรือแพลตฟอร์มโฆษณารูปแบบใด ๆ


15.) งบประมาณจากสปอนเซอร์ (สามารถเอาไปหักลบ หรือสมทบกับค่าใช้จ่ายรายการอื่นในภายหลังได้ ถ้ามีเพียงพอ)


16.) ค่าลิขสิทธิ์ หรือส่วนแบ่งรายได้จากการจัดการแข่งขันกับผู้เผยแพร่เกม (ถ้ามี)


17.) กฎการแข่งขัน (ในส่วนนี้ ผู้จัดงานสามารถระบุเพิ่มเติมได้ว่าการแข่งขันจะมีค่าเข้าหรือไม่)


ทั้งหมดนี้ ก็คือสรุปในด้านงบประมาณหลักที่ต้องใช้งานภายในหนึ่งอีเวนต์ที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี การเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ก็ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าจะต้องมีการใช้เงินครบอัตราที่กำหนดเสมอไป แต่ก็มีโอกาสที่งบประมาณอาจไม่เพียงพอกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การล่าช้าในการจ่ายเงินของสปอนเซอร์ ความเสียหายของสถานที่ อุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มีโอกาสเกิดขึ้นระหว่างนั้น แน่นอนว่าคงไม่มีผู้จัดคนใดที่อยากเห็นงานของตัวเองล่มจนไม่เป็นท่า ดังนั้น ผู้จัดควรคิดหาวิธีการป้องกันปัญหาเหล่านี้ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นไว้ด้วย


ทั้งหมดนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้จัดงานจะต้องประเมิน เตรียมวางแผนสำรองไว้ และมีเงินทุนสำรอง หรือวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในส่วนนี้ด้วย เพื่อให้งานเริ่มต้นและจบลงด้วยความเรียบร้อยที่สุด แล้วที่สำคัญมาก ๆ คือต้องมีการบันทึกการใช้จ่าย ในทุกขั้นตอนที่ได้ทำงานไว้ และการใช้จ่ายต้องไม่เกินงบประมาณทั้งหมดที่มี (ต้องไม่ Over Budget) ด้วย!



อ้างอิง: 





 

English:

The breakdown of “Budget” in an Esports event.


"Budget planning" is something that every professional Esports competition must have! The planning does not need to be overly complicated, but there should be documents that can be adjusted as needed. The planner must record expenses, including all income and expenditures, expected for the event's success.


As for the budgeting document format, it should be created as a spreadsheet, such as using Excel on Windows, numbers on macOS, or Google Sheets in a web browser. This will allow the accountant to track or modify the details appropriately.


The following should be included in the event’s budget:


1.) Prize money (the total prize pool divided by the ranks of winning teams). Importantly, withholding tax must be calculated before the prize money is paid to the winners! For example, if the winner receives 1 million baht, 3% must be withheld as tax. (According to Thai Law). So, 3% of 1 million equals 30,000, meaning the organizer will pay the winner 970,000 baht, while the 30,000 must be deducted and submitted to the Revenue Department.


2.) Venue costs and event date (there must be a confirmed event date and alternative schedule in case of unexpected incidents).


3.) If applicable, Event-related equipment (such as lanyards, advertising, printed media, etc.).


4.) Costs for producing tickets/wristbands (for the audience).


5.) Supplementary equipment for the venue (such as power strips, control devices, lighting, sound, etc.).


6.) Equipment for the competition (computers, game consoles, tables, chairs, gaming gear, or other related items — whether purchased or rented as appropriate).


7.) Raffle prizes (if applicable, or these may come from sponsors, but if they haven't been taxed by the organizer, this must be stated in the competition rules).


8.) Fees for photographers, videographers, drone operators, or other recording devices.


9.) Costs for renting or making tables, tablecloths, and chairs.


10.) Transportation costs (if applicable, including equipment transportation, athlete travel, or any other necessary travel expenses).


11.) Food and drink for staff or special guests.


12.) Wages or fees for staff (including hosts and special guests, if applicable).


13.) Rental or purchase of projectors, TVs, or any display equipment.


14.) Advertising costs on TV, social media, press, or any other ad platforms.


15.) Sponsorship budgets (which can offset other expenses later, if sufficient).


16.) Licensing fees or revenue-sharing with the game publisher (if applicable).


17.) Competition rules (here, the organizer can specify whether there will be an entry fee).


This is a summary of the main budget items required for an event. However, planning this budget does not guarantee that all the allocated money will be used. There is a possibility that the budget may not be sufficient due to other risk factors, such as delays in sponsor payments, damage to the venue, or equipment issues during the event. Additional expenses may arise during the event as well. No organizer wants to see their event fail miserably, so organizers should also consider ways to prevent these potential issues.


This is another crucial factor that organizers must assess, prepare contingency plans for, and ensure they have a reserve fund or solutions for handling unexpected problems so the event can run smoothly from start to finish. Most importantly, all expenditures should be recorded at every step, and the spending must not exceed the total budget (not going over budget, in other words)!


Reference:



Title: The breakdown of “Budget” in an Esports event.

Category: A Story of the Esport World

Written by: KAZUMA

Written Date: 26 September 2024


Comments


bottom of page