“สปอนเซอร์” จะต้องโฟกัสกับสิ่งใดบ้าง เพื่อสนับสนุนให้กับอีเวนต์อีสปอร์ต
- KAZUMA
- 24 ก.ย. 2567
- ยาว 5 นาที

หากคุณเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ แบรนด์ หรือผู้มีเงินทุน แล้วต้องการจะเข้ามา ‘สนับสนุน’ การแข่งขันอีสปอร์ตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจได้มากขึ้นว่าในโลกของอีสปอร์ตนั้นมีหลายสิ่งที่ทางผู้มีเงินทุนควรจะต้องพิจารณาก่อนที่จะเริ่มเข้าไปสนับสนุนการแข่งขัน ว่าควรจะให้ความสำคัญกับอะไรบ้างในการสนับสนุนอีสปอร์ต
ส่วนใครที่เป็น “ผู้จัดการแข่งขันอีสปอร์ต” ก็สามารถศึกษาปัจจัยต่าง ๆ จากในบทความนี้ได้เช่นกัน! เพราะการจัดการแข่งขันที่ยอดเยี่ยม จะต้องเริ่มมาจากการวางแผนที่ยอดเยี่ยมเสมอ โดยจะต้องมีข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุดอีกเช่นกัน
ในบทความนี้ เราจะมาสรุปทุกอย่างที่ “สปอนเซอร์” ควรพิจารณาและให้ความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการแข่งขันอีสปอร์ตให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ต้องใช้ไป แล้วจะมีปัจจัยอะไรบ้าง ไปอ่านกันได้เลยครับ
** หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นด้วยมุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น ข้อมูลบางส่วนในบทความนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือข้อแตกต่างกับความเป็นจริงได้ตามความเหมาะสม
1.) ทำความเข้าใจกับโปรเจกต์การแข่งขันก่อน!
แน่นอนว่าทุกการแข่งขันอีสปอร์ต จะต้องมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน เพราะแผนงานที่มีรายละเอียดครบถ้วน ก็จะทำให้การดำเนินการแข่งขันนั้นมีแบบแผนที่ชัดเจน และทำให้ผู้ที่ติดตามรายละเอียดสามารถเข้าใจได้ว่าภายในการแข่งขันจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง โดยภายใน “Proposal” หรือการนำเสนอของโปรเจกต์ จะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน ดังนี้:
การแข่งขันนี้ใช้เกมอะไร
สถานที่ในการแข่งขันจัดขึ้นที่ไหน (หากจัดการแข่งขันแบบออนไลน์ก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน)
จุดมุ่งหมายของการจัดการแข่งขัน
รูปแบบการแข่งจะเป็นแบบใด (เช่น แข่งแบบแพ้คัดออก หรือแข่งแบบ Group Stage เป็นต้น)
กฎกติกาของการแข่งขันมีอะไรบ้าง
กลุ่มเป้าหมายของผู้ชม ผู้ติดตามเป็นใคร เพศอะไร กลุ่มอายุเท่าไร
รางวัลหรือผลตอบแทนต่อนักกีฬาที่เข้าแข่งขันมีอะไรบ้าง
ช่องทางการเผยแพร่การแข่งขัน (เช่น ช่องถ่ายทอดสด หรือบันทึกเทปรายการ เป็นต้น)
บุคลากรที่ต้องใช้ดำเนินงานมีกี่คน มีตำแหน่งอะไรบ้าง
งบประมาณที่ต้องใช้จริงในแต่ละส่วนของงาน
สถิติ และผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจบการแข่งขัน (โดยประมาณ)
ข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถอธิบายภาพรวมของการแข่งขันได้
ทั้งนี้ ยิ่งทางผู้จัดงาน
2.) ต้องเช็กสถิติและความนิยมของเกมที่ใช้แข่งขัน รวมถึงกระแสผู้ติดตามในกลุ่มเป้าหมายด้วย!
ผู้ที่ต้องการจะลงทุนกับการแข่งขันอีสปอร์ตด้วยเกมใด ๆ ควรจะต้องศึกษาสถิติของเกม รายการแข่งขัน สโมสร รวมถึงนักกีฬาอย่างชัดเจน ถ้าเป็นในกรณีที่ต้องการจะสนับสนุนการแข่งขัน ก็ต้องมีการศึกษาก่อนว่า ในรายการนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมกี่คน มีกลุ่มเป้าหมายผู้ชมเป็นกลุ่มใด แล้วมีจำนวนผู้ชมเท่าไร (หรือคาดหวังว่าจะมีเท่าไร) เพราะปัจจัยทั้งหมดนี้จะมีผลต่อความนิยมของเกม รวมถึงผลประโยชน์ที่สปอนเซอร์จะได้รับตั้งแต่ช่วงก่อนเริ่มต้นจนจบรายการแข่งขัน
เพราะการที่ ‘สปอนเซอร์’ ได้ออกไปมีตัวตนอยู่ในรายการแข่งขันอีสปอร์ต ก็คือช่องทางที่พวกเขาสามารถ ‘โฆษณาตัวเอง’ ได้อย่างดี แต่ผลลัพธ์จะอยู่ในระดับที่พึงพอใจหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอของสปอนเซอร์เอง รวมถึงการเข้าถึงและตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายในการแข่งขันด้วย ดังนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เข้ากับสปอนเซอร์ ก็จะช่วยให้ทางสปอนเซอร์ได้รับผลประโยชน์ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นไปอีกด้วย
อีกข้อควรระวังที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษ ก็คือการนำเสนอของสปอนเซอร์ที่ไม่ตรง หรือไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ชมการแข่งขัน เพราะถึงแม้ว่าในบางรายการแข่งขันจะมีผู้ชมเป็นจำนวนมาก แต่ถ้า ‘ลูกค้าเหล่านี้’ ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่แบรนด์หรือสปอนเซอร์ต้องการจะสื่อ หรือไม่สามารถสร้าง Brand Awareness ได้ มันก็ย่อมมีโอกาสที่พวกเขาจะต้องสูญเงินไปโดยใช่เหตุ!

3.) ตรวจสอบงบประมาณที่ใช้ในการจัดแข่งขันอีสปอร์ตให้ละเอียดทุกส่วน!
เรื่อง ‘เงิน’ คือเรื่องใหญ่สำหรับวงการอีสปอร์ต! เพราะการแข่งขันอีสปอร์ต ก็เป็นหนึ่งใน ‘ธุรกิจ’ รูปแบบหนึ่งที่จะต้องมีทั้งผู้เล่น ผู้ชม ผู้จัดงาน และผู้สนับสนุนการแข่งขัน แล้วก็ไม่ใช่ทุกการแข่งขันที่จะสามารถ ‘ทำเงิน’ ให้กับผู้สนับสนุนโดยตรง แต่ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะได้รับโอกาสในการทำเงินทางอ้อมมากขึ้น เช่น การเปิดบูธเพื่อขายสินค้า/บริการจากแบรนด์ของตัวเอง หรือจะเป็นการนำแบรนด์ของตัวเองไป ‘โฆษณา’ ผ่านการแข่งขัน
ส่วนอีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือการตรวจสอบรายละเอียดของงบประมาณให้ชัดเจน ว่าในแต่ละส่วนมีการใช้จ่าย หรือมี ‘มูลค่าจริง’ อย่างไรบ้าง โดยในส่วนของการสนับสนุนการแข่งขัน ก็จะต้องมีการเช็กรายละเอียดให้ชัดเจน ดังตัวอย่างนี้
งบประมาณที่รายการแข่งขันต้องใช้รวมกันตลอดทั้งโปรเจกต์ (ก่อน ระหว่าง และหลัง) มีตัวเลขโดยรวมเท่าไร
งบประมาณที่ต้องใช้ในการจ้างบุคลากรทั้งหมดที่รับผิดชอบการจัดงานต้องใช้เท่าไร (ในส่วนนี้ต้องมีการแยกย่อยตำแหน่งทีมงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ทีม Control มีใครบ้าง หรือทีม Host มีกี่คน ค่าตัวคนละเท่าไร ต้องมีการสรุปยอดให้ชัดเจน)
ค่าสถานที่ ค่าจ้างองค์กรภายนอก หรือแขกรับเชิญพิเศษในการสนับสนุนงาน (เช่น การจ้างศิลปินมาแสดงในงาน หรือจ้างทีมงานรักษาความปลอดภัยมาช่วยดูแล เป็นต้น) ต้องใช้เท่าไร ต้องระบุมาให้ครบ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการแข่งขันมีอะไรบ้าง ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อหรือเช่าหรือไม่
อุปกรณ์แสง สี เสียง ที่ใช้ภายในการแข่งขันมีอะไรบ้าง สามารถจ้างหน่วยงานภายนอกในการสนับสนุนได้หรือไม่ แล้วต้องใช้งบประมาณเท่าไร
มีเงินรางวัล ของที่ระลึก หรือรางวัลพิเศษให้กับนักกีฬาอีสปอร์ตแต่ละอันดับเป็นมูลค่าเท่าไร
รูปแบบการเข้างาน จะเป็นการเปิดให้เข้างาน “ฟรี” โดยใช้เงินทุนจากสปอนเซอร์ หรือจะเป็นแบบขายตั๋วที่นั่งเพื่อนำมาเป็นต้นทุนให้กับปัจจัยอื่น ๆ (Tips: หากเป็นการใช้ทุนจากสปอนเซอร์เพื่อเปิดให้เข้างานฟรี ทางผู้จัดงานก็ควรมีกลยุทธ์อื่น ๆ ในการมารองรับกับเม็ดเงินที่ต้องใช้ในส่วนนี้ เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับสปอนเซอร์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทางสปอนเซอร์จะได้รับ Awareness เพิ่มเติมด้วย เป็นต้น)
ผลประกอบการที่คาดว่าจะได้รับหลังจากขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทั้งทางผู้จัดงานและสปอนเซอร์ ตั้งแต่ก่อนเริ่มไปจนถึงช่วงจบรายการ หรือหลังจากจบรายการไปแล้ว (ถ้าเป็นไปได้) จะเป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ ทางหัวหน้าผู้จัดงานจะต้องมีการวางแผนเอาไว้ให้เรียบร้อยว่าจะมีการของบประมาณจากสปอนเซอร์แต่ละแห่งเป็นจำนวนเท่าไร หรือจะสามารถขอสินค้าบางอย่างจากพวกเขาได้ด้วยหรือไม่ ในกรณีที่สปอนเซอร์ไม่สามารถหางบประมาณมาให้กับโปรเจกต์ได้เพียงพอ
4.) งบประมาณที่ใช้ลงทุนกับการแข่งขันต้องไม่กระทบกับผลประกอบการขององค์กร และเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูง!
ข้อนี้ คือเรื่องที่ผู้ประกอบการ แบรนด์ หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการจะเป็นสปอนเซอร์ให้กับการแข่งขันอีสปอร์ตจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่ทุกอีเวนต์การแข่งขันอีสปอร์ตจะสามารถสร้างผลประกอบการในแบบที่คาดหวังได้เสมอไป แล้วกลุ่มเป้าหมายหลักของทุกการแข่งขันอีสปอร์ต มักจะเป็นกลุ่มเยาวชน วัยรุ่น นักศึกษา หรือผู้ที่เป็น First Jobber เป็นหลัก ทำให้คนกลุ่มนี้อาจไม่ได้มีกำลังซื้อสูงเท่าไรนัก!
ยกตัวอย่างเช่น ในบางรายการ ทางผู้จัดอาจมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้ชมอย่างน้อย 1 ล้านคน แต่หลังจากรายการเริ่มจนจบไปแล้วกลับมีผู้ชมรวมกับ 1 แสนคน จึงทำให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่เป็นไปตามเป้า แต่ทั้งนี้มันก็อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น เช่น ความนิยมของเกม ผู้เล่น หรือทีมที่ลดลง ความสะดวกสบายในการเข้าถึงของผู้ชม ปัญหาบางส่วนนี้มีทั้งเรื่องที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ ทำให้ผู้ลงทุนจะต้องพบกับความเสี่ยงในด้านนี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยเรื่อง “กำลังซื้อ” ของผู้ชม ที่อาจไม่ได้มีมากกับการแข่งขันอีสปอร์ตบางประเภท ไม่ใช่ผู้ชมทุกคนจะมีเงินทุน หรือแรงจูงใจมากพอในการซื้อสินค้า/บริการจากผู้จัดงานหรือสปอนเซอร์ ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหานี้ที่ดีที่สุด ก็คือการจัด “โปรโมชันพิเศษ” ที่อาจมีเฉพาะกับผู้เข้าร่วมงาน หรืออาจเป็นการเปิด “ข้อเสนอพิเศษ” ให้กับกลุ่มผู้ชมเหล่านี้ โดยอาจต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับการแข่งขันด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสให้พวกเขารู้สึก ‘ใกล้ชิด’ กับทางแบรนด์มากขึ้น แล้วมันจะกลายเป็นแรงจูงใจที่สำคัญให้กับพวกเขาได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี มันก็มีโอกาสที่การแข่งขันอีสปอร์ตหนึ่งรายการจะสร้างผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างอีเวนต์ แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังถือเป็น ‘ความเสี่ยงสูง’ ที่สปอนเซอร์จะต้องร่วมแบกรับไว้ ดังนั้น การหาช่องทางในการสร้างโฆษณาให้เกิด Awareness มากที่สุด หรือทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้การลงทุนมีความคุ้มค่า!
แล้วที่สำคัญที่สุด การนำงบประมาณไปสนับสนุนกับอีสปอร์ต ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องไม่กระทบกับผลประกอบการโดยรวม หรือ Cash Flow ขององค์กร เพราะการลงทุนกับอีสปอร์ตมีความเสี่ยงสูง แต่ก็มีโอกาสที่ได้ Brand Awareness สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ดังนั้น การวางแผนอย่างรอบคอบ และต้องมีแผนสำรองคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง!
อ้างอิง:
English:
The main concerns of the “Sponsors” for supporting an Esport event.
If you're an entrepreneur, business owner, brand, or investor looking to support an esports event, this article will help you understand what key considerations to take into account before entering the esports scene. There are multiple factors that sponsors should focus on to ensure their support is effective and worthwhile.
For those who are esports event organizers, you can also benefit from this article as it outlines essential factors to consider when planning an event. A successful event starts with meticulous planning, aiming to minimize errors.
In this article, we will summarize everything sponsors need to consider and prioritize to make their support of an esports event worthwhile. Let’s dive in!
Note: This article is based on the personal experience and perspective of the author. Some information may vary or change based on real-world circumstances.
1. Understand the Competition Project First
Every esports competition requires a clear operational plan. A detailed plan helps ensure the event runs smoothly and allows followers to understand the event's components. In the project proposal, the following information should be clearly outlined:
- The game being used for the competition.
- The location of the event (or clear indication if it's online).
- The event’s objectives.
- The format of the competition (e.g., elimination, group stage).
- Competition rules and regulations.
- The target audience in terms of age, gender, and demographics.
- Rewards or incentives for the participating players.
- Broadcast platforms (e.g., live stream or recorded).
- Required personnel and their roles.
- The budget for different aspects of the event.
- Expected outcomes and performance metrics post-event.
- Any additional relevant information explaining the overall event.
2. Check the Game’s Popularity and Audience Trends
Sponsors should study the statistics and popularity of the game, competition, and players involved. If you plan to sponsor an event, you must research the number of players, the target audience, and the expected viewer count, as these factors influence the success of the game and the benefits sponsors receive.
Sponsors use esports as a platform for advertising, but the success depends on how well they present themselves and resonate with the target audience. Therefore, ensuring the sponsor’s message aligns with the audience’s interests increases the potential benefits.
One major pitfall is presenting a sponsor’s brand in a way that doesn’t connect with the audience. Even with a large viewership, if the audience can’t relate to the brand, it could result in wasted resources.
3. Examine the Budget in Detail
Money is a significant factor in esports. Esports competitions are a form of business, involving players, viewers, organizers, and sponsors. While not all competitions generate direct profits for sponsors, there are indirect opportunities, such as selling products or advertising through the event.
It’s essential to thoroughly examine the event’s budget, including:
- The total budget for the entire project (pre-event, during, and post-event).
- Personnel costs for both front and backstage teams (detailed breakdowns of roles and salaries).
- Venue fees, costs for external partners, or guest performers (e.g., hiring artists or security).
- The value of prizes and rewards for esports athletes.
- Whether entry to the event is free (supported by sponsor funding) or ticketed, with other strategies in place to recoup costs (such as promotional activities for sponsors).
Additionally, planning how much budget to request from each sponsor, and whether they can provide non-monetary support, is critical.
4. Investment Budget Must Not Affect Organizational Performance
Sponsors must be cautious, as not all esports events guarantee high returns. The primary audience for esports often consists of youth, students, or early-career professionals, who may not have significant purchasing power.
For example, an event may anticipate one million viewers but only attract 100,000, impacting the return on investment. While some issues, such as game or player popularity, are beyond control, sponsors must be prepared for these risks.
Moreover, many esports viewers may not have the financial means to purchase products or services, so offering special promotions or exclusive deals to event attendees can create a stronger connection between the brand and the audience.
In conclusion, while esports sponsorships can bring significant awareness, especially among younger demographics, they carry high risks. Therefore, it’s crucial to plan thoroughly and have a contingency plan to ensure that the investment doesn’t negatively impact overall business performance.
Reference:
Title: The main concerns of the “Sponsors” for supporting an Esport event.
Category: A Story of the Esport World
Written by: KAZUMA
Written Date: 21 September 2024
Comments