นักกีฬาอีสปอร์ต สามารถต่อยอดโอกาสของตัวเองอย่างไรได้บ้าง หลังจากรีไทร์จากการแข่งขันแล้ว
- KAZUMA
- 28 ต.ค. 2567
- ยาว 5 นาที

ถ้าหากพูดถึงอาชีพ “นักกีฬาอีสปอร์ต” แล้ว หลายคนก็จะมีภาพจำกันว่านักกีฬาเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุน้อย หรือเป็นวัยรุ่น ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ต่างจากสิ่งที่ใครหลายคนคิดกันเลย! เพราะถึงแม้ว่า “อีสปอร์ต” จะได้การยอมรับว่าเป็นกีฬาจริง ๆ แล้ว แต่ในด้านของวงจรการเป็นนักกีฬาในสายนี้ค่อนข้างสั้นมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายกีฬาในโลกใบนี้ โดยนักกีฬาอีสปอร์ต จะมีช่วง ‘พีค’ ของตัวเองในช่วงอาุย 15-25 ปีเท่านั้นเอง!
จนต่อมา หลายคนก็เริ่มตั้งข้อสงสัยกันต่อว่า ถ้าใครสักคนเลยจุดพีคของการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต หรือต้องการจะ ‘รีไทร์’ แล้ว พวกเขาจะต้องถอนตัวจากวงการไปเลยหรือไม่ หรือว่าพวกเขาสามารถต่อยอดอาชีพของตัวเองอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้ เรามีคำตอบและคำแนะนำว่า พวกเขาควรจะไปต่ออย่างไร!
ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วงจรชีวิต (Lifespan) ของการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตนั้น จะมีความใกล้เคียงกับอาชีพฟุตบอลเป็นอย่างมาก เพราะนักกีฬาเหล่านี้สามารถเล่นในระดับสูงได้ตั้งแต่วัย 15-29 ปี โดยมีน้อยคนนักที่จะยังไปต่อหลังจากผ่านช่วงอายุ 30 ปีไปแล้ว แต่โดยส่วนใหญ่ พวกเขามักจะเริ่ม ‘วางมือ’ กันตั้งแต่ช่วงวัย 25 ปี นอกจากนี้ พวกเขาก็ยังต้องเจอกับอีกหลายปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีก เช่น การมาของนักกีฬาหน้าใหม่ที่มีความสดกว่า การเปลี่ยนแปลงของเกมที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงความฟิตและประสาทสัมผัสที่เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ด้วยหลายอย่างที่รวมกันนี้ ก็ทำให้วงจรการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตยิ่งสั้นลงไปอีก
คำถามต่อไปคือ ถ้านักกีฬาเหล่านี้ไม่ไปเป็นโปรเพลเยอร์ หรือนักแข่งแล้ว พวกเขาจะทำอะไรต่อไป คำตอบก็ง่ายนิดเดียว! คือต้องเปลี่ยนเส้นทางในอาชีพ แต่การเปลี่ยนแปลงเส้นทางในครั้งนี้ จะมีทั้งในรูปแบบที่ยังต้องคลุกคลีกับวงการอีสปอร์ตต่อไป หรืออาจเป็นการต่อยอดจากความรู้ ประสบการณ์ และโอกาสที่ได้ค้นพบระหว่างทาง หรือในกรณีที่ ‘ฉีก’ ที่สุด คือการออกจากวงการแล้วไปทำสายอาชีพอื่นเลยก็เป็นไปได้เช่นนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละคน ว่ามีความพร้อมและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ในส่วนของการเปลี่ยนสถานะจากผู้เล่น สู่สายอาชีพในวงการอีสปอร์ตอื่น ๆ ก็มีอยู่มากมาย โดยเราก็จะขอยกตัวอย่างสายงานอีสปอร์ตที่เป็นไปได้หลายแขนง ดังนี้:
จากผู้เล่น ไปสู่การเป็น “โค้ช” (Coach)
แน่นอนว่านี่คือหนึ่งในทางเลือกแรก ๆ ของใครหลายคน ที่มองว่าตัวเองสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากการแข่งขัน มาส่งต่อให้กับนักกีฬารุ่นใหม่ สำหรับใครที่อยากเป็นโค้ช ก็ต้องมีการศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งในด้านความรู้ ประสบการณ์จากเกม แต่เท่านั้นก็ไม่พอ พวกเขายังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาในด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) ควบคู่ไปกับด้านจิตวิทยา (Mentality) ไปด้วย เพราะการเป็นโค้ชที่ดีได้นั้น พวกเขาจะต้องมองภาพกว้างของการแข่งขันให้ครบทุกด้าน รวมถึงต้องคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเสริมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของนักกีฬา ที่สำคัญที่สุด พวกเขาจะต้องเป็นทั้ง ‘อาจารย์’ และ ‘ที่พึ่งทางใจ’ ให้กับนักกีฬาที่ตัวเองดูแลด้วย ส่วนเรื่องอายุหรือประสบการณ์นั้นไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญเท่ากับการมองเห็นภาพกว้างของการแข่งขันเลย!
ถ้าไม่ชอบการสอน แต่ชอบมองภาพรวม การไปเป็น “นักวิเคราะห์” (Analyzer) ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
ด้วยความที่บทบาทของ ‘โค้ช’ นั้นอาจต้องไปโฟกัสที่การดูภาพรวมของทีมและผู้เล่นมากขึ้น จนอาจไม่มีเวลาในการไปตรวจสอบสถิติ หรือศึกษาคู่แข่งได้อย่างครอบคลุม ก็ทำให้บทบาทนี้ตกเป็นของ ‘นักวิเคราะห์ประจำทีม’ ไปเลย โดยผู้ที่สนใจในสายงานนี้ควรจะต้องมีความรู้ทั้งในด้านเกม รูปแบบการแข่งขัน สถิติที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงยังต้องสามารถประเมินทั้งผู้เล่นภายในทีมได้ดี และประเมินคู่แข่งได้พอประมาณ การมีอยู่ของนักวิเคราะห์ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระบางส่วนจากโค้ชของทีมได้ดี เพราะผู้ที่ทำงานในสายนี้จะเป็นผู้ที่มี ‘ข้อมูล’ ทั้งหมดเกี่ยวกับทีม และการแข่งขันมาแชร์ให้กับทุกคนในทีมได้ เปรียบเสมือนว่าพวกเขาเป็น ‘เลขา’ ประจำทีมเลยก็ว่าได้!
แต่ถ้าชอบการดูแลงานหลังบ้าน บทบาท “ผู้จัดการทีม” (Manager) อาจเหมาะสมกว่า!
ในเมื่อทีมอีสปอร์ต มีโค้ชและนักวิเคราะห์ที่คอยดูแลด้านการแข่งขันแล้ว ภายในทีมก็ต้องมี “ผู้ประสานงาน” ในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วย ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการต่าง ๆ ภายในทีม เช่น การจัดบูทแคมป์ฝึกซ้อม การดูแลทางด้านโภชนาการ การเดินทาง หรือแม้แต่การเป็นตัวแทนของทีมในการประสานงานหรือเจรจากับทีมผู้จัดแข่ง ก็ล้วนเป็นหน้าที่สำคัญที่ทีมควรจะต้องมีไว้ เพื่อคอยเป็น “ซัพพอร์ทเบอร์ 1 ที่มั่นคง” ให้ทีมอีสปอร์ตสามารถไปต่อได้ หากนักกีฬาคนใด (หรือแม้แต่ผู้ที่ชื่นชอบเกม) มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่ต้องการใช้พลังงานไปกับการคิดวิเคราะห์มากนัก แล้วต้องการดูแลคนในทีมเหมือนกับเป็นครอบครัวของตัวเอง บทบาทนี้จะเป็นบทบาทที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ!
ถ้าไม่อยากไปอยู่ในสโมสรหรือทีม ก็ไปทำงานเบื้องหน้าหรือเบื้องหลังการแข่งขันแทนได้!
สายอาชีพนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งในสายอาชีพที่เหมาะสมกับนักกีฬาอีสปอร์ตบางคนที่ได้รีไทร์ไปแล้วยังรู้สึกผูกพันกับวงการอยู่ โดยแน่นอนว่าในสายอาชีพอีสปอร์ตนั้น ยังมีงานที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอีกมากมาย เพราะการแข่งขันอีสปอร์ตครั้งหนึ่ง คือการรวบรวมผู้คนจากหลายสายอาชีพ มาสร้างการแข่งขันให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การใช้ผู้คนให้ถูกประเภทงาน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก หนึ่งในข้อดีของการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตมาก่อน ก็คือการได้เห็น “ภาพรวม” ของอีเวนต์การแข่งขันอีสปอร์ตมาแล้วว่าเป็นเช่นไร ทำให้การที่นักกีฬาคนหนึ่งจะไปต่อยอดในสายอาชีพอื่น ๆ ของวงการ ก็เป็น ‘แต้มต่อ’ ให้กับพวกเขาได้เช่นกัน!
ส่วนสายอาชีพที่มีอยู่ในแวดวงอีสปอร์ตก็มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดงาน ผู้ประสานงาน ผู้ควบคุมเวที แสง สี เสียง และอื่น ๆ ที่ทำงานเป็นเบื้องหลังของทีม หรือจะเป็นพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ หรือนักพากย์ ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย! ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่านักกีฬาคนนั้นจะมีทักษะ หรือประสบการณ์ในด้านใดบ้าง ที่สามารถไปเติมเต็มอาชีพหลังรีไทร์จากการเป็นนักกีฬาได้ หรือในบางกรณี พวกเขาก็สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายอาชีพในวงการอีสปอร์ตได้อีกด้วย เพราะการเรียนรู้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ว่าจะต้องเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตมาก่อนเท่านั้น เพราะใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ถ้ามีความรู้และความสามารถที่เพียงพอ!

ถ้าคิดว่ามีเงินทุน แรงสนับสนุน และความรู้มากพอก็ไปสร้างสโมสรใหม่ขึ้นมาเองเลยก็ได้!
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งในแนวคิดที่สามารถทำได้หลังจากรีไทร์จากความเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตแล้ว แต่อย่าลืมว่า การเป็นเจ้าของทีมนั้นก็เหมือนกับการเป็นประธานบริษัททั่วไป เพราะคุณจะต้องบริหารและจัดการกับ ‘ความเสี่ยง’ ที่พร้อมจะเข้ามาได้ตลอดเวลา ดังนั้น การมีไหวพริบ การคิด วิเคราะห์ให้รอบด้าน ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ทัน และต้องพร้อมปรับตัวตลอดเวลา คือสิ่งที่ ‘ผู้บริหารสโมสร’ ควรจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทีมอยู่รอดต่อไป
ผันตัวไปเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ก็ช่วยยืดอายุในวงการได้อีกเช่นกัน!
ในปัจจุบัน สายอาชีพ “คอนเทนต์ครีเอเตอร์” และ “อินฟลูเอนเซอร์” คือสิ่งที่กำลังมาแรง และเป็นสายงานที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก การจะเป็นครีเอเตอร์ที่มีชื่อเสียงได้นั้นก็สามารถเริ่มสร้างได้ตั้งแต่ช่วงที่เป็นนักกีฬา โดยไม่จำเป็นต้องรอเข้าสู่ช่วงรีไทร์จากการแข่งขันไปแล้ว (แต่ก็สามารถทำได้หลังจากรีไทร์เช่นกัน) แต่สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการก้าวสู่สายอาชีพนี้ นักกีฬาจะต้องมีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองต้องการจะแสดงออกไปให้ชัดเจน หรืออาจเป็นการขาย ‘คาแรกเตอร์’ ของตัวเองให้ผู้คนจดจำได้ หรืออาจเป็นการสร้าง ‘เอกลักษณ์เฉพาะตัว’ ขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนจดจำได้
นอกจากนี้ ยิ่งผู้เล่นเคยมีชื่อเสียงตอนที่เป็นนักกีฬามากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นความได้เปรียบในการสร้าง ‘ฐานแฟนคลับ’ หลังจากผันตัวมาเป็นครีเอเตอร์มากเท่านั้น หนึ่งในตัวอย่างครีเอเตอร์ที่ผันตัวจากการเป็นนักกีฬา แล้วกลายเป็นหนึ่งในครีเอเตอร์ที่โด่งดังมากที่สุด ก็ต้องยกให้ “Shroud” อดีตผู้เล่น CS:GO ที่เคยจารึกชื่อของตัวเองบนเวทีโลกมาแล้หลายรายการ จนหลังจากที่เขาวางมือจากการแข่ง ผู้คนก็ยังสามารถจดจำลีลาในการเล่นเกม FPS ของเขาได้ดี
ในขณะเดียวกัน นักกีฬาอีสปอร์ตบางคนได้เริ่มเข้าถึงแฟนคลับด้วยการเป็น ‘สตรีมเมอร์’ ให้แฟน ๆ ได้รับชมการเล่นกันแบบสด ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้เล่นเหล่านั้นจะสามารถต่อยอดตัวเองให้เป็นครีเอเตอร์ที่มีฐานแฟนคลับของตัวเองได้ด้วย
อย่างไรก็ดี การทำงานในสายครีเอเตอร์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย! เพราะคุณจะต้องพึ่งพาฐานแฟนคลับที่หนักแน่น พร้อมสนับสนุนคุณได้อย่างจริงจัง รวมถึงอาจต้องมี ‘สปอนเซอร์’ เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านการโฆษณา หรือเงินทุนต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของนักกีฬาที่ผันตัวมาเป็นครีเอเตอร์ คือการสร้างฐานแฟนคลับให้เหนียวแน่น เพื่อให้พวกเขาเป็นกระบอกเสียงให้กับคุณนั่นเอง!
ผลิตหรือขายสินค้าใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ต หรือเข้าถึงแฟนคลับอีสปอร์ต ก็เป็นตัวเลือกที่จะสร้างกำไรให้ตัวเองได้!
ด้วยความที่ “อีสปอร์ต” คือกีฬาที่ต้องอาศัยความเป็น “ธุรกิจหลายภาคส่วน” เข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็ทำให้นักกีฬาอีสปอร์ตจะมีโอกาสได้สัมผัสกับภาคธุรกิจเหล่านั้น ผ่านเส้นทางการแข่งขันของพวกเขา โดยสิ่งเหล่านั้นจะมาทั้งในรูปแบบสปอนเซอร์ หรือเป็นพาร์ทเนอร์ในการจัดการแข่งขัน หรือเป็นสินค้าและบริการที่มาวางจำหน่ายภายในการแข่งขัน โดยถึงแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะให้ความสนใจกับการแข่งขันเป็นหลัก แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการมีอยู่ของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าผู้บริโภคที่ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของทุกคน ทำให้เรามีโอกาสได้เห็นทั้งแบรนด์อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า เกมมิ่งเกียร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการเกม หรือชีวิตประจำวันเข้าสู่สังคมอีสปอร์ตมากขึ้น
นักกีฬาที่รีไทร์แล้วต้องการสร้างรายได้จากแวดวงอีสปอร์ต ก็สามารถเปิดธุรกิจของตัวเองขึ้นมาได้ โดยใช้หลักการความรู้ทั่วไปจากสายอาชีพธุรกิจมาเป็นตัวเสริม แต่การทำธุรกิจนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันจะต้องมีการศึกษาตลาด การลงทุน การจัดการความเสี่ยง และการเข้าถึงลูกค้า โดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการศึกษาให้รอบคอบ เพื่อให้ธุรกิจสามารถไปได้อย่างราบรื่น
หนึ่งในตัวอย่างผู้ที่ใช้ความรู้และ ‘โอกาส’ ในการเข้าสู่ตลาดของวงการอีสปอร์ต คือ “พล sScary” นักกีฬาอีสปอร์ตเกม VALORANT ที่เปิดธุรกิจของตัวเองในชื่อว่า REFLEX for gamers ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับนักกีฬา โดยเขาก็ได้มีการศึกษาตลาดอีสปอร์ตว่ามีความต้องการอะไรบ้าง จนมาจบที่การสร้างอาหารเสริมตัวนี้ แล้วไปเป็น ‘สปอนเซอร์’ ให้กับรายการแข่งขันเกม VALORANT หลายรายการในประเทศไทย และเขาก็ยังมีแผนที่จะต่อยอดการทำธุรกิจในส่วนนี้ต่อไปด้วย
ย้ำอีกครั้ง! การเข้ามาทำธุรกิจต่าง ๆ ในแวดวงอีสปอร์ต ก็เหมือนการทำธุรกิจในแบบทั่วไป เพราะมันก็มี ‘ความเสี่ยง’ เข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากมันมีการจัดการที่ดี มันก็จะสร้างผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล แต่ถ้าไม่สามารถจัดการได้ดี มันก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้น การวางแผนธุรกิจที่ดีเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดทุน หรือปิดกิจการขึ้น!
…หรือในท้ายที่สุด นักกีฬาที่รีไทร์แล้วอยากจะไปทำสายงานอื่น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด!
ชีวิตมนุษย์อย่างเราทุกคนก็ล้วนมีความต้องการ หรือปัจจัยรอบตัวไม่เหมือนกัน บางคนที่เคยเป็นนักกีฬา ก็อาจมีภาระอื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบในช่วงชีวิตของตัวเอง หรือบางคน ก็ไปพบกับเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจในชีวิต มันก็มีโอกาสที่นักกีฬารีไทร์แล้วจะผันตัวไปทำงานในสายอาชีพอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตได้ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้ ก็อาจเริ่มเรียนรู้กันใหม่ได้ การจะไปต่อกับสายอาชีพอื่นได้ ก็ต้องมีการเก็บความรู้ ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และหาโอกาสให้ตัวเองอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้ตัวเองสามารถไปตามเส้นทางที่ตัวเองต้องการได้ ในโลกใบนี้ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้เล่นอาจไม่รู้ และรอคอยให้พวกเขาไปค้นหาอยู่ก็อาจเป็นได้!
สุดท้ายแล้ว ไม่ว่านักกีฬาอีสปอร์ตที่รีไทร์จะไปต่อยอดเส้นทางอาชีพของตัวเองอย่างไร สิ่งที่พวกเขาไม่ควรจะทิ้งเป็นอันขาด ก็คือประสบการณ์ชีวิตที่ได้สั่งสมมา รวมถึงยังต้องมีการวางแผนในด้านการเงินและการใช้ชีวิตให้รอบคอบ เพื่อไห้ตัวเองสามารถก้าวต่อไปอย่างมีความสุข ไร้ซึ่งปัญหาที่ไม่จำเป็นในภายหลัง โดยไม่ว่านักกีฬาเหล่านั้นจะเลือกเส้นทางไหน การเก็บความรู้และประสบการณ์ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเติบโตต่อไปของพวกเขา!
อ้างอิง:
Estimates of the effect of age on Esports earnings. | Download Scientific Diagram (researchgate.net)
English:
Further opportunities after Esports retirement.
When talking about the career of a “professional esports athlete,” many people envision young individuals or teenagers. And in reality, this perception isn’t far off! Even though esports is now recognized as a legitimate sport, the career span of an esports player tends to be quite short compared to other sports. Typically, esports athletes reach their “peak” between the ages of 15 to 25.
Then, many have started to wonder: What happens after an athlete has passed their peak or decides to “retire”? Do they have to leave the industry entirely, or are there other ways to transition into new roles? This article provides some insights and recommendations for their future careers.
The lifespan of an esports career is similar to that of football players. Most esports professionals play at a high level between the ages of 15 to 29, with very few continuing beyond 30. Typically, they start to step away from competitive play by the age of 25. Several factors also limit their careers, including new, younger competitors, game updates, and the decline in physical and mental reflexes with age.
If players can no longer compete, what’s next for them? Fortunately, many career paths remain open to them, both within the esports industry and beyond. Here are some viable options:
Becoming a Coach
This is one of the most common choices. Retired players can pass on their knowledge and experiences to younger athletes. However, being a coach requires more than just expertise in the game; it demands **leadership skills and psychological insight. A good coach must have a broad understanding of the game, be able to strategize and act as both a mentor and emotional supporter for players. Experience is valuable, but seeing the big picture is crucial.
Transitioning to a Role as an Analyst
For those who prefer analyzing the game without the responsibility of managing players, becoming an analyst is another option. Analysts focus on collecting data, evaluating both their own team and opponents, and helping coaches develop strategies. Their in-depth analysis and statistical insights complement the coach’s work, making them invaluable to the team.
Team Manager
If you enjoy overseeing operations and welfare, the role of team manager may be a good fit. Managers handle everything from organizing training boot camps, nutrition plans, and travel logistics to representing the team in negotiations. This role suits those who enjoy taking care of the team as if it were their own family, without delving into technical gameplay details.
Working Behind the Scenes in Esports Events
Retired players can also find opportunities in event management. They can help organize tournaments or take on roles such as **stage managers, coordinators, or production staff. Their familiarity with the competition environment gives them a unique advantage. Alternatively, they can become hosts, casters, or commentators. This path allows them to stay connected with the community and leverage their past experiences.
Creating a New Esports Organization
Some former players use their expertise to establish their own esports organizations. However, managing a team is much like running a business. It requires risk management, adaptability, and strategic thinking. Building a successful team demands more than just passion; it also requires smart planning and continuous adaptation to the ever-changing esports landscape.
Becoming a Content Creator or Influencer
The roles of content creators and influencers have gained immense popularity. Many players start building their personal brand while still competing and transition smoothly into streaming or content creation after retirement. A strong personal brand and loyal fanbase provide a solid foundation for this career path. For example, Shroud, a former CS: GO player, became one of the most successful content creators in the gaming industry, maintaining his popularity through his impressive FPS skills.
However, content creation isn’t easy. Success depends on building a loyal fanbase and securing sponsorships. It requires consistent creativity and the ability to engage audiences over time.
Starting a Business in Esports-Related Products or Services
Esports is not just about competition; it is deeply intertwined with various industries, from sponsorships to merchandise. Some retired players, like "sScary" from the VALORANT game, have launched businesses that cater to the esports market. His product, REFLEX for Gamers, an esports supplement, shows how business opportunities can be integrated into the competitive scene. However, like any business, running a successful venture requires market research, investment, and risk management.
Exploring Other Careers Outside of Esports
It’s also perfectly valid for retired athletes to pursue careers outside the esports industry. Every individual has unique life goals and circumstances that might lead them to explore new interests. Whether it’s starting a completely new career or studying new fields, life after esports can still offer growth and learning opportunities in many directions.
Key Takeaways for Retired Esports Athletes
Regardless of the path they choose, former esports athletes should retain the valuable experience and life lessons they’ve gained. Careful planning for financial stability and personal well-being is essential to ensuring a smooth transition to the next chapter of life. Continuous learning and open-mindedness will also help them adapt to new environments and thrive in their chosen careers.
Whether they remain in esports or pursue new ventures, the important thing is to embrace growth and opportunities while making thoughtful, well-informed decisions about their future.
Reference:
Estimates of the effect of age on Esports earnings. | Download Scientific Diagram (researchgate.net)
Title: Further opportunities after Esports retirement.
Category: A Story of the Esport World
Written by: KAZUMA
Written Date: 15 October 2024
Comments