top of page

ทำไมวงการอีสปอร์ต ถึงต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการ “ปั๊มแรงก์”? ของนักกีฬา

  • รูปภาพนักเขียน: KAZUMA
    KAZUMA
  • 13 พ.ย. 2567
  • ยาว 5 นาที



ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันอีสปอร์ตโดยทั่วไป หรือการเล่นเกมที่ได้รับการบรรจุเป็นอีสปอร์ต หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่มีท่าทีว่าจะจบสิ้น ก็คือปัญหาการ “ปั๊มแรงก์” หรือนิยามใด ๆ ที่ผู้เล่นคนหนึ่ง จะช่วยให้ผู้เล่นอีกคน ‘ยกระดับตัวเอง’ โดยที่ผู้เล่นอีกคนไม่ต้องลงแรงเล่นเอง ทำให้ผู้เล่นอีกคนขึ้นสู่ระดับที่ตัวเองก็ไม่ได้ใช้สกิลในแบบที่ควรจะเป็น!


ปัญหานี้ กลายเป็น ‘ข้อห้าม’ ที่เกิดขึ้นในทุกการแข่งขันอีสปอร์ตทั่วโลก และยังเป็นสิ่งที่ละเมิดต่อข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลาย ๆ เกมอีกด้วย แต่การปั๊มแรงก์ก็ยังเป็นสิ่งที่พบเจอได้โดยทั่วไป ถ้าหากเป็นผู้เล่นระดับทั่วไปถูกจับได้ว่าปั๊มแรงก์ หรือไปรับปั๊มแรงก์ ก็อาจถูกลงโทษด้วยสถานหนักที่สุดก็คือการถูกแบนถาวรจากเกม แต่ถ้าเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตทำเอง นั่นคือเรื่องที่ใหญ่และยากจะให้อภัยยิ่งกว่า เพราะการกระทำในลักษณะนี้ จะทำให้พวกเขาถูกแบนจากการแข่งขันด้วย!

ทำให้เราก็จะได้เห็นในบางครั้งว่า นักกีฬาบางคนก็ต้องถูกผู้จัดการแข่งขันลงโทษจากความผิดนี้ แล้วก็ทำให้พวกเขาบางคนแทบจะหมดอนาคตกับวงการไปเลย 


แล้วทำไม สโมสรอีสปอร์ตต่าง ๆ ทั่วโลก จะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันในการปั้มแรงก์ด้วย เรามีคำตอบแล้วที่นี่!


ก่อนอื่น เราต้องขออธิบายก่อนว่า การปั้มแรงก์ หรือการ Elo Boosts คือการที่ผู้เล่นคนหนึ่ง นำบัญชีเกมของผู้เล่นอีกคนไปเล่นแทน โดยมีเจตนาในการเล่นเพื่อให้บัญชีนั้นเลื่อนอันดับจากแรงก์ต่ำไปสู่แรงค์สูง (หรือไต่อันดับสู่แรงก์ที่ต้องการ) โดยที่เจ้าของบัญชีตัวจริงไม่ต้องใช้สกิลใด ๆ ในการเล่นด้วยตัวเองบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาจมีการจ้างวานด้วยเงิน สิ่งตอบแทนกัน หรือไม่จำเป็นต้องมีก็ถือว่าเข้าข่ายทั้งหมด


การกระทำลักษณะนี้คือการละเมิดทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขเกมและกฎกติกาการแข่งขันสำหรับทุกเกมที่เป็นอีสปอร์ต เพราะมันคือการผลักดันคน ๆ หนึ่งที่ไม่มีความสามารถสมกับอันดับของตัวเอง ขึ้นไปสู่อันดับที่สูงกว่าโดยมิชอบ โดยจะมีทั้งรูปแบบการที่ผู้เล่นมีการแลกเปลี่ยนบัญชีเกมเพื่อให้ผู้เล่นที่เก่งกว่าไปปั๊มแรงก์ ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง เพราะผู้เล่นที่ส่งบัญชีไปก็เสี่ยงที่จะถูกตรวจสอบ หรือตรวจจับความผิดปกติได้ง่าย


อีกรูปแบบที่เข้าข่ายก็คือ การที่ผู้เล่นระดับสูง นำบัญชีที่มีแรงก์ต่ำ เอามาเล่นกับผู้เล่นที่มีแรงก์ต่ำอีกคน (ในวงการเกมจะเรียกสิ่งนี้ว่า Smurf - สเมิร์ฟ) เพื่อให้ผู้เล่นที่ตัองการปั๊มแรงก์ สามารถขึ้นไปสู่ระดับที่ต้องการได้ ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ตามจับผู้กระทำผิดได้ยากขึ้น และเป็นหนึ่งในวิธีการยอดนิยมของผู้เล่นหลายคนในยุคนี้


ผู้เล่นบางคน เลือกใช้หนึ่งในสองวิธีนี้ เพื่อก้าวข้ามจากแรงก์ที่ตัวเองอยู่ในปัจจุบันแล้วไปเจอกับผู้เล่นระดับสูงแทน ในขณะที่บางคนก็ใช้วิธีนี้เพื่อ ‘โชว์’ ว่าตัวเองก็อยู่ในแรงก์ระดับสูง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การปั๊มแรงก์ก็ยังเป็นสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด


ในหลาย ๆ เกม หากผู้เล่นคนใดทำการฝ่าฝืนกฎแล้วถูกจับได้ ทางเจ้าของเกม หรือผู้พัฒนาเกมก็มีสิทธิที่จะลงโทษผู้เล่นคนนั้นได้ตามเหมาะสม โดยมีตั้งแต่การแบนชั่วคราว ตัดสิทธิต่าง ๆ ในเกม หรือหนักที่สุดคือการถูกแบนจากเกมโดยถาวร หรือแบนไอพีอุปกรณ์ที่ใช้เล่นไปเลย!


ส่วนในระดับนักกีฬาอีสปอร์ตนั้นจะมีโทษที่หนักยิ่งกว่า เพราะถ้าพวกเขาฝ่าฝืนกฎกติกาข้อนี้ไป พวกเขาก็มีโอกาสที่จะถูกพักการแข่งขันในรายการเกมนั้น ๆ ไป หรืออาจต้องรับโทษหนักที่สุดคือการถูกแบนจากทุกรายการของเกมนั้นไปตลอดชีวิต ทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะหมดอนาคตกับวงการไปเลย ในขณะเดียวกัน สโมสรที่ผู้เล่นคนนั้นอยู่ก็จะเสียทั้งผู้เล่นและภาพลักษณ์ของพวกเขาไปด้วย นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญว่าทำไมสโมสรอีสปอร์ตจึงต้องให้ความสำคัญและระวังกับเรื่องการ “รับปั้มแรงก์” ของผู้เล่นในทีมของพวกเขาด้วย


อีกผลเสียใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการปั๊มแรงก์ คือการทำลายและกัดกินระบบแรงก์ของเกมนั้น เพราะถ้าหากว่าในแรงก์ระดับสูง เกิดมีผู้เล่นจากแรงค์ต่ำได้ ‘บูสตัวเอง’ ขึ้นมา มันก็ย่อมเป็นผลเสียต่อคนอื่น ๆ ในทีมด้วย โดยเฉพาะกับเกมแนว PvP ที่มีผู้เล่นมากกว่า 2 คนขึ้นไป เพราะผู้เล่นที่ถูกบูสขึ้นมาก็จะไม่มีสกิลในการเล่นที่มากพอในระดับสูง ทำให้ทีมเสียสมดุลและมีโอกาสที่ผู้เล่นคนนั้นจะกลายเป็น “ตัวถ่วงทีม” ได้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ความไม่สนุก และนำไปสู่การทะเลาะกันในที่สุด





ในปัจจุบัน เกมแนว PvP หลายเกม โดยเฉพาะเกมที่มีการแข่งอีสปอร์ต ก็มีการออกกฎไว้อย่างชัดเจนว่ามีข้อห้ามและบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำการปั๊มแรงก์ในเกมของพวกเขาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ๆ รวมถึงยังมีระบบการจำกัดระยะห่างแรงก์ เพื่อไม่ให้ผู้เล่นแรงก์ต่ำสามารถจับคู่กับผู้เล่นแรงก์สูงได้ เพื่อป้องความเหลื่อมล้ำของแรงก์ที่อาจเกิดขึ้นด้วย โดยบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนของแต่ละเกมก็จะมีความหนักเบาไม่เท่ากัน โดยสิ่งที่เป็นผลเสียที่สุดที่ทุกเกมจะต้องเจอเหมือนกัน ก็คือระบบเกมที่เสียหาย ถ้าหากเกมนั้นมีผู้เล่นทำการปั๊มแรงก์กันเป็นจำนวนมาก


ทางทีมผู้พัฒนาเกมหลายราย รวมถึงผู้เล่นในชุมชนเกมก็ต่างออกมาแสดงความคิดเห็น รวมถึงต่อต้านการปั๊มแรงก์กันมากขึ้น โดยพวกเขาคาดหวังว่าอัตราการปั๊มแรงก์ในเกมที่พวกเขารักจะลดลงไปบ้าง หรือจะไม่มีเลย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความสุขของผู้เล่น และส่งเสริมให้สังคมเกมดีขึ้นด้วย


ในแวดวงอีสปอร์ต การป้องกันผู้เล่นของแต่ละสโมสรในการไม่ไปมีส่วนร่วมกับการปั๊มแรงก์เป็นสิ่งที่ต้องให้ความรู้และความสำคัญไม่แพ้กับเรื่องอื่น ๆ ในการแข่งขันเลย เพราะสิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่อาจ ‘ล่อลวง’ ให้ผู้เล่นบางคนในทีมของพวกเขาเริ่มใช้ฝีมือของตัวเองไปในทางที่ผิด และจะทำให้ทีมต้องพบกับชะตากรรมที่ไม่อาจเลี่ยงจากผู้จัดการแข่งขันได้ แน่นอนว่าคงไม่มีสโมสรอีสปอร์ตไดอยากเสื่อมเสียชื่อเสียงของตัวเองไปกับผู้เล่นที่รับ หรือแอบรับปั๊มแรงก์ในเกมที่พวกเขาแข่งขันอยู่อย่างแน่นอน


แต่…การตรวจสอบประวัติการปั๊มแรงก์ของผู้เล่น ก็ยังเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยาก เพราะผู้เล่นบางคนก็อาจเคยเสี่ยงต่อการกระทำผิดมาแล้ว แต่อาจยังไม่ถูกจับได้ในเวลาหนึ่ง หรือผู้เล่นบางรายอาจมีการแอบรับงานแบบเงียบ ๆ มาโดยตลอดแล้วไม่มีใครรับรู้ แล้วถ้าในวันหนึ่ง มีผู้ที่มีหลักฐานว่าผู้เล่นคนนั้นเคยปั๊มแรงก์ให้ผู้เล่นอื่น หรือผู้เล่นที่เคยได้รับการปั๊มเอาหลักฐานไปส่งเสียเอง ก็จะทำให้ผู้เล่นคนนั้น หรือทีมของพวกเขาเสี่ยงต่อการหมดอนาคตในการแข่งไปเลย


ดังนั้น วิธีการป้องกันการปั๊มแรงก์ที่ดีที่สุด ก็คือการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปั๊มแรงก์ในรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น นักกีฬาอีสปอร์ตที่ดีจะต้องเคารพทั้งกฎของเกม และกฎกติกาการแข่งขันเกมนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งกับสโมสร แฟนคลับ และชุมชนเกม เพื่อให้เกมของพวกเขาสามารถไปต่อได้อย่างยั่งยืน


อ้างอิง



 

English:

Why should the Esports community be more concerned about the “Rank Boosting Service” prevention?


Whether in general Esports competitions or games recognized as part of Esports, one persistent issue without signs of resolution is the problem of “rank boosting.” This refers to any situation where one player helps another “level up” without the second player actively participating, allowing them to reach a higher rank without using the appropriate skills.  


This issue has become a strict violation in all Esports competitions worldwide and also breaches the terms and conditions of many games. Yet, rank boosting remains widespread. If casual players are caught engaging in or paying for boosting, they could face severe penalties, including permanent bans from the game. However, if professional Esports athletes engage in boosting, the consequences are even more severe. They risk banishment from competitions and, in extreme cases, could see their careers in Esports end prematurely.  


This is why Esports organizations around the world place great importance on preventing rank boosting. But what exactly is rank boosting, and why is it so problematic?


What is Rank Boosting (Elo Boosting)?  


Rank boosting occurs when a player uses another person’s account to play the game with the intention of raising that account's rank either from a low rank to a higher one or to reach a specific desired rank. The real account owner benefits without having to use their own skills to achieve the rank. This practice may involve hiring boosters for money, providing other rewards, or sometimes no compensation at all.  


Rank boosting is a serious breach of both game terms and competition rules because it artificially elevates unqualified players to higher ranks. A common method involves players sharing accounts, allowing higher-skilled players to boost the account. However, this approach carries high risks, as game developers often detect suspicious activity and impose punishments.  


Another form of boosting involves high-rank players using low-ranked “smurf” accounts to play alongside lower-ranked players, helping them rise through the ranks. This type of boosting is harder to detect and has become increasingly popular among players today.  


Why is Rank Boosting Harmful?  


Many players use boosting either to climb out of their current rank and face stronger opponents or to show off that they’ve achieved a high rank. However, regardless of the reason, rank boosting is inherently wrong.  


If players are caught violating the rules, game developers have the right to impose appropriate penalties, including temporary suspensions, removal of privileges, or even permanent bans, sometimes banning the user’s IP address or gaming devices. 


For professional Esports players, the consequences are far more severe. They risk suspensions from tournaments or even lifetime bans from all competitions within that game. This can lead to the end of their Esports careers and damage their team’s reputation. Consequently, Esports organizations take rank boosting very seriously to prevent their players from engaging in such practices.  


The Impact of Rank Boosting on the Game System  

Rank boosting damages the competitive ranking system by allowing unqualified players to occupy higher ranks. This harms other team members, especially in PvP (Player vs. Player) games with multiple teammates. Boosted players often lack the skills needed for high-level play, disrupting team balance and potentially becoming a burden to their team, leading to misunderstandings, frustration, and conflicts.  


Many PvP games, particularly those in the Esports scene, now have clear rules prohibiting rank boosting. They also implement rank separation systems to prevent low-ranked players from teaming up with higher-ranked ones, ensuring a fair competitive environment. While penalties vary between games, the worst outcome of rampant rank boosting is the degradation of the game's competitive system


Community and Developer Efforts to Combat Rank Boosting 

 

Game developers and gaming communities alike have begun expressing their opposition to rank boosting, hoping to reduce or eliminate the practice for the benefit of players and to foster healthier gaming environments.  


For Esports teams, preventing players from engaging in rank boosting is as critical as other aspects of competition. Teams must educate their players about the dangers and consequences of these actions. Players tempted to misuse their skills through boosting put themselves—and their teams—at risk of irreversible consequences from tournament organizers. No Esports organization wants to jeopardize its reputation due to a player’s involvement in rank boosting.


Challenges in Detecting Rank Boosting  


Tracking a player's boosting history can be difficult. Some players may have engaged in boosting without being caught, or they may secretly take boosting jobs. If evidence later surfaces—such as from players they boosted or other insiders—those involved may find themselves and their teams facing severe consequences.  


Conclusion: Avoiding Rank Boosting Altogether 

 

The best way to avoid the risks associated with rank boosting is simply not to engage in it. Professional Esports athletes must respect both game rules and competition regulations to set a positive example for their teams, fans, and the broader gaming community. This commitment ensures the longevity of their careers and the sustainability of the games they love.  


In the end, esports organizations that prioritize integrity and fair play will foster healthier communities and contribute to the long-term growth of competitive gaming.



Reference:




Title: Unusual Video Games used as Esports and the reasons explained.

Category: A Story of the Esport World

Written by: KAZUMA

Written Date: 22 October 2024


Comments


bottom of page